ตะกองหรือกิ้งก่ายักษ์( Physignathus cocincinus )

ตะกองหรือกิ้งก่ายักษ์( Physignathus cocincinus )

ตะกองเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนาดของตะกองจะยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร ( ปลาย จมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตะกองเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า ตะกองเพศผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวก็เข้มกว่า สีของตะกองจะมีสีเขียวและสัตว์ชนิดนี้ สามารถที่จะเปลี่ยนสีของมันให้เข้มขึ้น และอ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้
ตะกอง มีการกระจายทั่วไปในประเทศลาว, เวียดนาม,กัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย ตะกองชอบที่จะอาศัยหากิน อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่นบริเวณป่าดิบแล้งริมลำห้วยที่มีน้ำไหล
สัตว์ชนิดนี้เวลามันตกใจพบว่ามันจะวิ่ง 2 ขาโดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยมันจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานานๆ สำหรับอาหารที่มันกินก็คือ แมลงชนิดต่างๆ,กบ,เขียด,ปลาเล็กๆ,หนูตัวเล็กๆ และผลไม้บางชนิด ในที่กรงเลี้ยงพบว่าตะกองมีอายุถึง 30 ปี ตะกองจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์ และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่ง ครั้งตะกองเพศเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง ตะกองจะวางไข ่บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและมันจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ในปัจจุบันจำนวนประชากรของตะกองได้ลดลงจากในอดีดมาก เนื่องจากปัญหาการจับตะกองไปเป็นอาหาร ของชาวบ้านรอบๆป่า และปัญหา การบุกรุกทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของตะกองซึ่งมีผลให้บ้านของเจ้ากิ้งก่ายักษ์ถูกลดขนาดให้เล็กลง และผืนป่าตะวันออกแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญแหล่งหนึ่งของตะกอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ประกาศให้ตะกองเป็น”สัตว์ป่าคุ้มครอง”

lizardwaterdragon_3876

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87

ใส่ความเห็น